วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อัตราค่าบริการอินเตอร์เน็ต 3BB


 เงื่อนไขโปรโมชั่นและการบริการ
  •  ผู้ใช้บริการชำระค่าบริการ 1 เดือนในวันสมัคร
  • กรณีรับสิทธิ์ยืม ADSL Router 1 Portหรือ VDSL Routerชำระค่าประกันอุปกรณ์ 100 บาท
  • กรณีซื้อADSL Router 1 Port WIFI ราคา 650 บาท หรือ ADSL Router 4 Port WIFI ราคา 999 บาท (ราคารวม VAT แล้ว)
  • บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการให้บริการและกรณีที่ความเร็วเชื่อมต่อต่ำกว่าความเร็วที่ระบุไว้ในแพ็กเก็จที่เลือกใช้บริการ
    อันเนื่องมาจากปัจจัยหรือข้อจำกัดทางเทคนิคและโครงข่ายรวมถึงจำนวนผู้ใช้บริการในขณะนั้น










วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ประเภทของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต


ประเภทของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็

       การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่อ

อินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี ลักษณะ คือ

1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up

        เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้(Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ตข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คืออุปกรณ์มีราคาถูกการติดตั้งง่ายการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่ายข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิตต่อวินาที

2. การเชื่อมต่อแบบ ISDN(Internet Services Digital Network)

เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital)และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ-ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN              -การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ              -ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการISDN ได้หรือไม่ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ตข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up

3. การเชื่อมต่อแบบ DSL(Digital Subscriber Line)

        เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ-ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่-บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบDSL-การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ-ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDNข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้

4. การเชื่อมต่อแบบ Cable

       เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ-ใช้Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ-ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือLan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง

5. การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)

       เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่าDirect Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ-จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม-ใช้Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม(Satellites) ได้แก่-ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ-ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ-ค่าใช้จ่ายสูง  

ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต


ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต


ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (อังกฤษInternet service provider: ISP) คือ บริษัทที่ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต[1] โดยผู้ให้บริการจะเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโนยีรับส่งข้อมูลที่เหมาะสมในการส่งผ่านอุปกรณ์โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น ไดอัลดีเอสแอลเคเบิลโมเด็มไร้สาย หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการ เปิดบัญชีชื่อผู้ใช้ในอีเมล ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นโดยรับ-ส่ง ผ่านเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ในบางครั้งผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการเก็บไฟล์ข้อมูลระยะไกล รวมถึงเรื่องเฉพาะทางอื่น เป็นต้น
การเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
  ขั้นตอนที่ 1: การเลือกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
สิ่งที่คุณจะต้องตัดสินใจเป็นอันดับแรก คือ คุณจะเชื่อมต่อโดยใช้การเรียกเลขหมาย หรือบรอดแบนด์ (DSL หรือเคเบิลโมเด็ม) ตัวเลือกแต่ละตัวเลือกมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน คุณควรหาเวลาในการอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเลือกแต่ละตัวเลือก แล้วตัดสินใจว่าคุณสมบัติใดที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ

  ขั้นตอนที่ 2: การเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
เมื่อคุณทราบแล้วว่าคุณจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างไร ก็ถึงเวลาที่คุณจะเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต คือ ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อไปยังอินเทอร์เน็ต ถ้าคุณตัดสินใจที่จะใช้การเรียกผ่านสายโทรศัพท์ คุณจะต้องเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) แยกจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ในปัจจุบันมีทั้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ระดับประเทศ และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ในท้องถิ่น ในเมืองใหญ่ๆ ด้วยเช่นกัน คุณควรหาเวลาในการเปรียบเทียบข้อมูลของผู้ให้บริการแต่ละราย สอบถามจากเพื่อนบ้านและเพื่อนของคุณเพื่อขอคำแนะนำ แล้วดูตัวเลือกต่างๆ ถ้าคุณเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกที่คุณพบ คุณอาจพลาดข้อเสนอที่เหมาะกับการใช้งานของคุณมากกว่า
เคล็ดลับ: บริการ DSL และเคเบิลโมเด็มจะให้แอคเคาท์สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต (Internet access: ISP) มาด้วยเสมอ ในการประเมินบริษัทต่างๆ คุณควรพิจารณาทั้งผู้ให้บริการแบบบรอดแบนต์และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ผู้ให้บริการบางรายอาจให้คุณใช้ ISP อื่นด้วยเช่นกัน
ถ้าคุณไม่คุ้นเคยกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต และรู้สึกไม่สะดวกที่จะตัดสินใจ คุณสามารถสอบถามจากเพื่อนที่มีความรู้ทางด้านเทคนิคเพื่อช่วยคุณในการตัดสินใจ ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาเมื่อคุณตัดสินใจมีดังต่อไปนี้
  • การบริการลูกค้า พิจารณาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ที่มีชื่อเสียงในเรื่องการบริการลูกค้า
  • อัตราค่าบริการ ในปัจจุบันมีการให้ข้อเสนอที่น่าสนใจอย่างมากมาย คุณจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนตัดสินใจเลือก
  • ความมั่นคง เช่นเดียวกับธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงประเภทอื่นๆ บางบริษัทเปิดดำเนินการเพียงเพื่อแสวงหาผลกำไร จากนั้นก็ปิดกิจการลง คุณควรหาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ที่ดำเนินธุรกิจมาแล้วหลายปี
  • ข้อเสนอพิเศษ ในสภาวะของตลาดที่มีการแข่งขันสูง บางบริษัทมีการให้ข้อเสนอพิเศษ เช่น การให้พื้นที่เว็บไซต์ฟรี เพื่อดึงความสนใจจากคุณ ข้อเสนอพิเศษเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่คุณจะต้องระมัดระวัง และตัดสินใจเลือกใช้บริการจากบริษัทที่ให้บริการในระยะยาว
กำลังมองหา ISP อยู่ใช่หรือไม่ พยายามสร้างความอยากรู้อยากเห็น... แล้วถามคำถาม
ถ้าคุณมีเพื่อน เพื่อนบ้าน และผู้ร่วมงานที่ใช้งานออนไลน์มาระยะหนึ่งแล้ว คุณสามารถสอบถามพวกเขาเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) คำถามต่อไปนี้จะช่วยให้คุณสามารถเริ่มต้นตัดสินใจได้
  • คุณเคยต้องรอการสนับสนุนทางด้านเทคนิคเป็นเวลานานหรือไม่
  • ผู้ให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคสามารถแก้ปัญหาให้กับคุณได้หรือไม่
  • ถ้าคุณได้รับข้อเสนอให้ใช้ตัวกรองเพื่อแยกข้อความที่ไม่พึงประสงค์ โปรแกรมดังกล่าวใช้งานได้ดีหรือไม่ (พวกเขาได้รับจดหมายที่ไม่พึงประสงค์เป็นจำนวนมากหรือไม่)
ถ้าคุณรู้สึกพึงพอใจกับคำตอบที่ได้รับ ให้ติดต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) รายนั้น ... แล้วสอบถามเพิ่มเติม
  • อัตราค่าบริการของคุณเป็นอย่างไร (สอบถามตัวเลือกบริการทั้งหมดที่มี รวมถึงอัตราค่าบริการ)
  • จะสามารถใช้บริการออนไลน์ของคุณได้เมื่อใด
  • ต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม (เช่น เคเบิลโมเด็ม) หรือรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแล้ว
  • คุณมีบริการติดตั้งอุปกรณ์หรือไม่ หรือต้องดำเนินการด้วยตนเอง (ถ้ามีบริการนอกสถานที่ ให้สอบถามอัตราค่าบริการดังกล่าว)
  • การให้บริการของคุณครอบคลุมพื้นที่ที่ฉันอยู่หรือไม่
  ขั้นตอนที่ 3: การติดตั้งโมเด็ม
ไม่ว่าคุณจะใช้การเชื่อมต่อแบบเรียกเลขหมาย DSL หรือเคเบิล คุณจะต้องใช้โมเด็มในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณกับอินเทอร์เน็ต ถ้าคุณซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา คุณน่าจะมีโมเด็มติดตั้งไว้แล้ว ในปัจจุบัน บริษัทโดยส่วนใหญ่มักจะติดตั้งโมเด็มภายในที่สนับสนุนการเชื่อมต่อ แบบเรียกผ่านสายโทรศัพท์มาให้ด้วย ถ้าคุณไม่มีโมเด็ม หรือคุณต้องการปรับรุ่นโมเด็ม คุณสามารถซื้อ (หรือเช่าสำหรับบางกรณี) โมเด็มใหม่ได้ คุณจะต้องระมัดระวังในการเลือกโมเด็มให้ตรงกับประเภทของการเชื่อมต่อของคุณ
โมเด็มที่ใช้เชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นแบบติดตั้งภายในหรือภายนอก จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อแบบเรียกผ่านสายโทรศัพท์ ถ้าคุณต้องการใช้บริการ DSL หรือเคเบิลโมเด็ม คุณจะต้องหาโมเด็มชนิดพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับบริการที่คุณเลือก (คุณไม่สามารถใช้โมเด็มแบบติดตั้งภายในหรือภายนอกสำหรับบริการเหล่านี้) ผู้ให้บริการโดยส่วนใหญ่จะมีโมเด็มที่คุณจำเป็นต้องใช้ คุณจะต้องสอบถามให้แน่ใจเมื่อคุณต้องการใช้บริการนี้
เคล็ดลับ: ก่อนที่คุณจะเลือกซื้อโมเด็ม ให้ขอรายชื่ออุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้จากผู้ให้บริการของคุณ เมื่อคุณตัดสินใจใช้ DSL หรือเคเบิลโมเด็ม ค่าอุปกรณ์ดังกล่าวอาจรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแล้ว
เมื่อคุณได้รับอุปกรณ์มาแล้ว คุณจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ของคุณควรให้คำแนะนำในการติดตั้งโมเด็ม และเชื่อมต่อไปยังอินเทอร์เน็ต อย่าเกรงกลัวที่จะติดต่อขอความช่วยเหลือ ถ้าคุณไม่ทราบว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร บางบริษัทจะส่งช่างเทคนิคเพื่อดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์เมื่อคุณต้องการ คุณต้องสอบถามว่ามีการคิดค่าบริการสำหรับบริการนอกสถานที่หรือไม่





บริษัทผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต
Cable Modem High-Speed (บริษัท เอเซีย มัลติมีเดีย จำกัด)www.asianet.co.th/cable_modem/CBmain.html
บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด - Advanced Datanetwork Communications Co.,Ltd. (DataNet) ผู้ให้บริการ Internet ความเร็วสูง ระบบ ADSLwww.adc.co.th
Q-Net อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง DSL จาก เลนโซ่ เทเลคอมwww.lensodatacom.co.th
บริษัท ยูไนเต็ด บรอดแบนด์ เทคโนโลยี จำกัด - United Broadband Technology Co,.Ltd. (เทคโนโลยีการสื่อสารความเร็วสูง ADSL จากจินเซ็ง Ginseng)www.ubt.co.th
Sawadee Internet Service (High Speed Internet by Satellite)sat.service.co.th
ACT Internet Center (บริการอินเตอร์เน็ตเหมือนกับ ISP ต่างๆ)www.act.ksc.co.th

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

History of the internet

History of the internet

ประวัติของอินเตอร์เน็ต


ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต


ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่ 


คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์